ในแต่ละปีมีขยะสูงถึง 27 ล้านตันถูกนำไปทิ้งที่หลุมฝังกลบในประเทศไทย และประมาณ 2-3 ล้านตันเป็นขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง อย่างเช่น ขวดพลาสติก, ถุงใส่อาหาร เป็นต้น จากการให้สัมภาษณ์ของ คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ว่าขยะพลาสติกจะสามารถรีไซเคิลได้ แต่ขยะพลาสติกไม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากเท่าที่ควร
เชื่อหรือไม่… น้ำที่คุณดื่มทุกวันนี้ อาจมีไมโครพลาสติกซ่อนอยู่!!
ขยะพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งปริมาณมาก ก่อให้เกิดไมโครพลาสติกที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของมลพิษทางธรรมชาติ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และมลพิษในดิน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบย้อนกลับมาที่มนุษย์ทั้งสิ้น แล้วทีนี้ คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอันตรายเหล่านั้นจะไม่ย้อนกลับมาสู่ตัวคุณเข้าสักวัน ?
ไมโครพลาสติกคืออะไร ?
ไมโครพลาสติก คือเศษพลาสติกที่ได้แตกกระจายเป็นชิ้นเล็ก ๆ อันเกิดจากกระบวนการจัดการขยะที่ไม่ดีเพียงพอ และไปจบลงในทะเลหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ จนกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นปลา เต่าทะเล แพลงก์ตอน หอยต่าง ๆ เป็นต้น ส่งผลให้ไมโครพลาสติกแทรกซึมเข้าไปในสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์เหล่านั้น เป็นเหตุให้มนุษย์ได้รับไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกายทางอ้อม
ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในน้ำได้อย่างไร
ไมโครพลาสติกหลุดรอดลงไปในมหาสมุทรได้จากการบำบัดน้ำเสีย และปนเปื้อนในแหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งอาจจะปนเปื้อนในน้ำที่เราใช้อุปโภคบริโภคด้วย หากมนุษย์บริโภคสัตว์น้ำที่มีไมโครพลาสติกแทรกซึมอยู่ในร่างกาย หรือดื่มน้ำที่มีปนเปื้อนไมโครพลาสติกเข้าไป แน่นอนมันย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ขยะก็สร้างมลพิษให้แก่ธรรมชาติด้วย ซึ่งล้วนแล้วแต่วกกลับมาส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทั้งสิ้น
อันตรายจากไมโครพลาสติก
ในไมโครพลาสติกมีกลุ่มสารมลพิษตกค้างยาวนาน หรือ persistent organic pollutants (POPs) เช่น ยาฆ่าแมลงและพลาสติกไซเซอร์ หรือแม้กระทั่งสารเคมีส่วนประกอบในพลาสติกประเภท PE และ PP นอกจากนี้ การบริโภคอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนไมโครพลาสติกเป็นเวลานาน มีการคาดการณ์ถึงผลที่อาจเกิดขึ้นต่อมนุษย์ โดย รศ.ดร. สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ อาจทำให้เป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่ายขึ้น อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ด้วยขนาดที่เล็กเท่าแบคทีเรียหรือไวรัส ก็อาจสามารถเข้าไปในเส้นเลือดได้ ส่งผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต และที่ร้ายแรงที่สุดอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของมนุษย์ได้เลยทีเดียว
จะหลีกเลี่ยงปัญหาไมโครพลาสติกในน้ำดื่มอย่างไร ?
ใครหลายคนอาจจะเลือกวิธีในการซื้อน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่มีขายทั่วไป เพื่อป้องกันไม่ให้ดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อนต่าง ๆ แต่นั่นอาจไม่ใช่วิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่าใดนัก เพราะการซื้อน้ำขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งก็คือการสร้างขยะพลาสติกให้เกิดขึ้นใหม่อยู่ดี แล้วจะมีวิธีไหนที่ยั่งยื่นกว่านี้ในขณะที่เราปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ ล่ะ?
คำตอบก็คือการกรองน้ำดื่มเองเป็นวิธีที่ดีต่อสุขภาพของคุณและได้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยในตัวนั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนี้มีวิธีกรองน้ำที่สะดวก, ง่ายดาย, และปลอดภัย เพียงแค่กรอกน้ำลงไปใน เหยือกกรองน้ำซีโร่วอเตอร์ คุณก็จะได้น้ำดื่มรสชาติที่บริสุทธิ์ที่สุด ซึ่งตอนนี้มี กระบอกน้ำเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ใหม่จากซีโร่วอเตอร์ ที่ช่วยให้คุณสามารถพกพาน้ำดื่มบริสุทธิ์ติดตัวไปได้ทุกที่ สะดวก ปลอดภัย และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เป็นที่น่ายินดีว่า ยุคนี้เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รับรู้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นปัญหาที่อาจนำไปสู่จุดจบของโลกที่สวยงามใบนี้เลยก็ได้ จึงมีการรณรงค์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นทั่วโลก แต่การเริ่มต้นช่วยโลกใบนี้นั้นจะไม่สำเร็จได้ หากเราไม่ร่วมมือร่วมใจกัน ดังนั้น เริ่มต้นการลดขยะพลาสติกง่าย ๆ ที่ตัวคุณตั้งแต่วันนี้ ด้วยการดื่มน้ำดื่มที่กรองเองจากเหยือกกรองน้ำหรือแก้วกรองน้ำกันนะคะ
Sources:
Planet Plastic: Thailand suffers from plastic addiction and poor waste management (Video) | Coconuts
เมื่อพลาสติกย้อนกลับมาในห่วงโซ่อาหารและซ่อนอยู่ในวัตถุดิบที่เรากิน – Greenpeace Thailand
ขยะพลาสติก : นักวิจัยศูนย์ฯ ทะเล จ.ตรัง พบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู – BBC News ไทย