“PM 2.5” ฝุ่นเล็กจิ๋วที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องน้ำ

“PM 2.5” ฝุ่นเล็กจิ๋วที่ส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องน้ำ

“น้ำ” เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ โดยเฉพาะมนุษย์ ที่น้ำมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ และเป็นส่วนประกอบกว่า 60% ของร่างกาย อีกทั้ง น้ำยังมีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการหลากหลายในโลก ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร ที่น้ำเป็นองค์ประกอบหลักในการเจริญเติบโตของพืชผล การผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ การควบคุมอุณหภูมิของโลก รวมไปถึงเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดและการอุปโภคบริโภคของมนุษย์ด้วย

การดูแลแหล่งน้ำให้สะอาดปราศจากสารปนเปื้อนจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่เราต้องให้ความสำคัญ แต่อย่างที่เราทราบกันดีถึงสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก เช่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของน้ำก็หนีไม่พ้น บทความนี้จะพาทุกคนไปเรียนรู้เรื่องผลกระทบของฝุ่น PM 2.5 ต่อน้ำ จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมกันเลย

รู้จักกับ PM 2.5

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเจ้าฝุ่นละอองเล็กจิ๋วนี้กันก่อน PM 2.5 หรือ Particulate Matter 2.5 หมายถึงฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 30 เท่า ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และด้วยขนาดที่เล็กจิ๋วของมัน PM 2.5 จึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจของเราได้อย่างง่ายดายและสร้างผลเสียต่อร่างกายได้อย่างมหาศาล PM 2.5 มาจากไหน และส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ไปดูกันต่อเลย

PM 2.5 เกิดจากอะไรได้บ้าง

ที่จริงแล้วฝุ่น PM 2.5 มาจากแหล่งกำเนิดที่หลากหลาย ทั้งจากฝีมือมนุษย์และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมักจะเกิดมาจากการเผาไหม้ เช่น

  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ในภาคการขนส่ง โรงไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรม
  • การเผาไหม้เพื่อเกษตรกรรม เช่น การเผาฟางหรือซังข้าว
  • ควันจากการเผาไหม้ เช่น เครื่องจักรรถยนต์ พลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ
  • ฝุ่นละอองที่เกิดจากการก่อสร้าง
  • ควันจากไฟป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

PM 2.5 ปริมาณเท่าไรเรียกอันตราย

แม้ฝุ่นละอองจะมีปะปนอยู่ทั่วไปในอากาศ แต่ปริมาณที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยองค์กรอนามัยโลก หรือ WHO ได้ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศรายวันไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปี ที่ไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าหากเกินกว่านี้จะถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในขณะที่ประเทศไทยได้กำหนดค่าอันตรายของฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไว้อยู่ที่ 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

มากไปกว่านั้น ประเทศไทยถูกจัดว่ามีคุณภาพอากาศแย่เป็นอันดับที่ 36 ของโลก และเป็นอันดับที่ 5 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 23.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศที่ WHO กำหนดไว้ ถึง 4.7 เท่าจะเห็นได้ว่าปัญหาฝุ่นละอองนั้นอยู่ไม่ไกลตัวเราเลยแม้แต่นิดเดียว

ภัยร้ายที่มากับ PM 2.5

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 นี้ เป็นหนึ่งในตัวการร้ายที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ เพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจลงสู่ปอด และกระแสเลือดได้ง่ายหากไม่ป้องกัน โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะสั้น ดังนี้

  • ระบบทางเดินหายใจ: ไอ จาม คัดจมูก หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ระคายเคืองเยื่อบุตา
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด: หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ระบบอื่น ๆ: ปวดหัว มึนงง อ่อนเพลีย ตาแดง ผิวหนังอักเสบ

 

และส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว ดังนี้

  • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคปอด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจวาย หลอดเลือดสมอง
  • มะเร็งปอด
  • ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก โดยจะส่งผลต่อระบบประสาทและสมอง รวมไปถึงสติปัญญา และการเรียนรู้

 

มากไปกว่านั้น ฝุ่นละออง PM 2.5 นี้อาจมีความเสี่ยงต่อกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวมากกว่าคนอื่น ๆ จึงต้องป้องกันและระมัดระวังมากกว่า โดยเราสามารถป้องกันตัวเองจากฝุ่นละอองได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในช่วงที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูง และติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองอยู่เสมอ
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยเลือกหน้ากากที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 โดยเฉพาะ เช่น หน้ากาก N95 หรือหน้ากาก KN95
  • ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM 2.5 เข้ามาในบ้าน และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5
  • ดูแลสุขภาพ โดยรับประทานทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ

ผลกระทบของ PM 2.5 ต่อวัฏจักรน้ำ

นอกเหนือจากผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศที่รวมไปถึง PM 2.5 ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะวัฏจักรน้ำ เพราะฝุ่นละอองที่หนาแน่นทำให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามายังพื้นผิวโลกได้น้อยลง (เราจะสังเกตได้จากฟ้าที่ขุ่นมัวมากกว่าปกติในวันที่มีค่า PM สูงเกินมาตรฐาน) ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราการระเหยของน้ำเข้าสู่ชั้นบรรยากาศและการก่อตัวของเมฆ ทำให้วัฏจักรน้ำและสภาพอากาศแปรปรวนไป ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอินเดียและจีนที่พบเจอกับการการเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นและการกระจายตัวของฝนเนื่องจากมลภาวะจากฝุ่นละออง อีกทั้งในบางพื้นที่ยังต้องพบเจอกับฝนตกชุกมากกว่าปกติ หรือมีปริมาณฝนน้อยกว่าปกติอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านั้น ฝุ่นละอองขนาดเล็กยังรบกวนลมมรสุม ทำให้ลมมรสุมในเอเชียมีกำลังแรงหรืออ่อนแอผิดปกติ และยังทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นในประเทศจีน อเมริกาเหนือ และเอเชียใต้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว วัฏจักรเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเกษตรกรรม ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำ รวมไปถึงความหลากหลายของพืชและสัตว์ในแต่ละพื้นที่อีกด้วย

PM กระทบมากกว่าการแปรปรวนของวัฏจักรน้ำ

นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและวัฏจักรน้ำแล้ว ฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศยังส่งผลให้เกิดมลภาวะทางน้ำอีกด้วย เพราะฝุ่นพิษสามารถปะปนลงไปในแหล่งน้ำได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มีหิมะตก หิมะจะจับตัวกับฝุ่นพิษเหล่านี้ และเมื่อหิมะละลายฝุ่นพิษก็จะไหลลงไปปะปนกับน้ำบาดาล ทำให้แหล่งน้ำที่แม้จะดูสะอาดแต่ก็ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษและมีความเป็นกรด ส่งผลให้คุณภาพของน้ำแย่ลงและเป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นสัตว์ทะเลและสัตว์บก เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ บนโลกยังคงต้องพึ่งพาน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำที่ไม่สะอาดเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ ส่งผลต่อระบบนิเวศ อีกทั้งสัตว์บกที่บริโภคน้ำปนเปื้อนก็อาจป่วยตายได้

มากไปกว่านั้น น้ำประปาที่เราใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคกันในครัวเรือน แม้ปกติจะได้รับการกรองก่อนแจกจ่ายไปตามบ้านอยู่แล้ว ก็อาจมีฝุ่นละอองปนเปื้อนได้ถ้าหากมีค่า PM ที่สูงเกินกว่ากำหนดในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งการดื่มและใช้น้ำที่มีการปนเปื้อนฝุ่น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น โรคทางเดินอาหาร โรคผิวหนัง และอาจส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มในร่างกาย

แม้เรื่องนี้จะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัวและการปนเปื้อนก็ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ปัญหานี้อาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ได้ในระยะยาว หากเราไม่ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน และหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นละออง ปัญหาเหล่านี้อาจทวีคูณยิ่งขึ้นและสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจนไม่สามารถหาทางแก้ไขได้อีกต่อไป

เพราะน้ำคือชีวิต บริโภคน้ำปลอดภัย ต้องน้ำดื่มจากเครื่องกรองน้ำ Zero Water

จะเห็นได้เรื่องฝุ่นละอองนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวโดยสามารถส่งผลกระทบได้แม้กระทั่งแหล่งน้ำที่มนุษย์อย่างเราต้องใช้ประโยชน์ แน่นอนว่าการบริโภคน้ำดื่มที่สะอาดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ด้วยปัญหามลภาวะทางน้ำในปัจจุบัน อาจทำให้หลายคนไม่แน่ใจถึงคุณภาพน้ำดื่มที่ใช้ดื่มอยู่ในปัจจุบัน Zero Water จะเข้ามาทำให้ปัญหานี้หมดไป ด้วยนวัตกรรมภาชนะกรองน้ำที่มาพร้อมเทคโนโลยีการกรอง 5 ขั้นตอน ช่วยขจัดสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ในน้ำได้ถึง 99.6% ไม่ว่าจะเป็น ตะกั่ว, PFOA/PFOS (สารมลพิษคงทนในน้ำที่อาจปะปนมากับน้ำประปา), โครเมียม และปรอท จะช่วยให้คุณได้ดื่มน้ำอย่างมั่นใจไร้สารปนเปื้อนและไม่มีกลิ่นกวนใจอย่างแน่นอน เลือกความมั่นใจต้องซีโร่เท่านั้น หากสนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

References

https://www.epa.gov/pm-pollution/particulate-matter-pm-basics#:~:text=PM2.5%20%3A%20fine%20inhalable%20particles,than%20the%20largest%20fine%20particle.

https://policywatch.thaipbs.or.th/article/environment-21

https://airly.org/en/how-does-air-pollution-affect-water-pollution/#:~:text=Air%20pollution%20has%20a%20huge%20negative%20impact%20on%20water%20quality,suffer%20from%20drinking%20contaminated%20H2O

https://primocare.com/en/pm-2-5-air-pollution-and-the-impacts/

https://ww2.arb.ca.gov/resources/inhalable-particulate-matter-and-health#:~:text=PM%20can%20adversely%20affect%20ecosystems,alter%20plant%20growth%20and%20yield

Recommended Products

  • Sale!

    เหยือกกรองน้ำขนาด 2.4 ลิตร

    1,775 Baht1,050 Baht(41%)
    Add to cart
  • Sale!

    เหยือกกรองน้ำขนาด 2.8 ลิตร

    1,975 Baht1,210 Baht(39%)
    Add to cart
  • Sale!

    เหยือกกรองน้ำแบบกดขนาด 5.4 ลิตร

    2,550 Baht1,425 Baht(44%)
    Add to cart

รับส่วนลด 5%
เมื่อสมัครสมาชิก

Love My Zero
Love My Zero